ค้นหาคำศัพท์แบบเร่งด่วน


 

  • ความหมายของคำว่า ' บวร, บวร- '

    บวร, บวร-  หมายถึง [บอวอน, บอวอระ-] (แบบ) ว. ประเสริฐ, ลํ้าเลิศ, ราชาศัพท์ใช้นําหน้าคํานามที่เกี่ยวกับวังหน้า เช่น บวรวงศ์ คู่กับ บรม ซึ่งใช้กับวังหลวงเช่น บรมวงศ์. (ป. ปวร; ส. ปฺรวร).

advertisement

 

คำที่ใกล้เคียงกัน

  • บวรโตฎก

    [บอวอระโตดก] น. ชื่อกลบทอย่างหนึ่ง.

  • บหลิ่ม

    [บะหฺลิ่ม] น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง. (เงาะป่า), ปลิ่ม ก็ว่า. (รามเกียรติ์ร. ๑), นอกนี้ยังมีเรียกและเขียนกันอีกหลายอย่าง คือ ปลิม ปลิ่ม ประหลิ่มมะหลิ่ม ปะวะหลิ่ม ปะหลิ่ม.

  • บอ

    ว. เกือบบ้า, ใกล้จะเป็นบ้า, ครึ่งบ้าครึ่งดี.

  • บ่อ

    น. ช่องลึกลงไปในดินหรือในหินใช้เป็นที่ขังนํ้าขังปลาเป็นต้น หรือเป็นแหล่งที่เกิดของสิ่งบางอย่าง เช่น บ่อเกลือ บ่อถ่านหิน บ่อแร่.

  • บ่อเกิด

    น. แหล่งที่เกิด, แหล่งที่มา, ต้นกําเนิด, เช่น บ่อเกิดวัฒนธรรมบ่อเกิดรามเกียรติ์.

  • บ่อน้ำร้อน

    น. บ่อที่มีนํ้าผุดขึ้นมาจากใต้ดิน และมีอุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิของร่างกายมนุษย์ เกิดจากนํ้าไหลซึมซาบลงไปใต้ดินลึกมากเมื่อไปกระทบอุณหภูมิสูง ทําให้นํ้าร้อนจัดขึ้น และขยายตัวหรือกลายเป็นไอเกิดแรงดันตัวเองขึ้นมาตามรอยแยกของชั้นหินและดินขึ้นมาสู่ผิวดิน ทั้งละลายเอาแก๊ส แร่ธาตุ และสารเคมีที่มีอยู่ตามชั้นดินต่าง ๆ ติดมาด้วย ที่พบเสมอมักจะเป็นธาตุกํามะถันและแก๊สไข่เน่า นํ้าในบ่อนํ้าร้อนบางแห่งจึงอาจมีสมบัติทางยาได้.

  • บ้อ, บ้อหุ้น

    น. ชื่อการพนันชนิดหนึ่ง โดยเขียนตารางสี่เหลี่ยมหรือวงกลมลงบนพื้น มีผู้เล่น ๒ ฝ่าย แต่ละฝ่ายออกสตางค์ฝ่ายละ ๒-๓ อันเอามารวมกัน ฝ่ายหนึ่งจะเป็นผู้โยนสตางค์ทั้งหมดลงในตารางหรือวงกลมนั้นให้กระจาย อีกฝ่ายหนึ่งจะชี้สตางค์อันใดอันหนึ่งให้ฝ่ายโยน ฝ่ายโยนจะต้องใช้สตางค์อีกอันหนึ่ง เรียกว่า 'อีตัว'โยนลงให้ประกบสตางค์อันที่เขาชี้ให้ ถ้าโยนลงไปประกบได้ก็เป็นฝ่ายชนะ ได้สตางค์ทั้งหมด ถ้าโยนถูกสตางค์อันอื่น ก็เป็นฝ่ายแพ้ ต้องเสียสตางค์ทั้งหมดให้ฝ่ายชี้ แต่ถ้าฝ่ายโยนไม่มั่นใจว่าจะโยนอีตัวไปประกบได้ ก็อาจโยนอีตัวลงไปในที่ว่าง เรียกว่า'อู้ไว้' หมายความว่า กินไม่ได้ แล้วอีกฝ่ายหนึ่งก็จะเป็นผู้โยนบ้างฝ่ายที่โยนก่อนก็เปลี่ยนมาเป็นผู้ชี้บ้าง.

 


พจนานุกรมไทย-ไทย ออนไลน์

จุดประสงค์ของเว็บ เพื่อสนับสนุนการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามความหมายของแต่ละคำ ขอบคุณข้อมูลจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒